วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565

“ยังฝัน” ชวนร่วมบริจาค “ถ้วยอนามัย” ให้ผู้หญิงขาดแคลน อีกทางเลือกใหม่ดีต่อสุขอนามัย ประหยัด และลดปัญหาขยะพลาสติก

  


ในยุคเงินเฟ้อมีสินค้าจำเป็นที่สร้างภาระรายจ่ายแก่ผู้หญิง นั่นคือ “ผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับประจำเดือน” หรือ “ผ้าอนามัย” ทั้งที่การมีสุขอนามัยที่ดีเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ แม้ประเทศไทยยังไม่มีการเก็บสถิติจำนวนผู้หญิงที่กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัยอย่างเป็นทางการ แต่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีผู้หญิงในประเทศไทยจำนวนหลายสิบล้านคนที่กำลังเผชิญปัญหาภาระทางการเงินจากการมีประจำเดือน

 

จากข้อมูลพบว่า หญิงไทยเริ่มมีประจำเดือนเฉลี่ยตอนอายุ 12-13 ปี ร้อยละ 48 ของประชากรอายุมากกว่า 15 ปีทั้งหมดในประเทศไทยมีเพียงร้อยละ 59 หรือ 17 ล้านคน เท่านั้นที่มีรายได้ นั่นย่อมหมายความว่า มีผู้หญิงมากถึงร้อยละ 41 หรือ 12 ล้านคนที่กำลังเผชิญหรือเสี่ยงต่อการเผชิญปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัยซึ่งการเข้าถึงผ้าอนามัยนั้นพบว่า จะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 2,520 บาท ต่อปี ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปี 2565 ระบุว่า ร้อยละ 88 ของบัญชีเงินฝากทั้งหมด 117.55 ล้านบัญชีที่มีเงินจำนวนไม่เกิน 50,000 บาท หรือ 103.11 ล้านบัญชีนั้น มีเงินฝากเฉลี่ยต่อบัญชีอยู่ที่ 4,240 บาท เมื่อเทียบเคียงกับค่าใช่จ่ายผ้าอนามัยตลอดชีวิตที่สูงถึง 98,280 บาทตลอดระยะช่วงชีวิตหนึ่งวัยประจำเดือนเฉลี่ย 39 ปี

 


นี่เป็นที่มาของการก่อตั้งโครงการYoungfun” (ยังฝัน) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับประจำเดือนของผู้หญิง (Period Poverty) และแก้ปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Pollution) โดยผ่านการจัดจำหน่าย “ถ้วยอนามัย” (Menstrual Cup) ที่ราคาเท่าทุนและต่อ 1 ถ้วยอนามัยที่จำหน่ายได้  ยังฝันจะบริจาคอีก 1 ถ้วยอนามัยให้แก่กลุ่มผู้หญิงที่ขาดแคลนผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับประจำเดือนทั้งในและนอกประเทศ อีกทั้ง ยังฝันจะช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขอนามัยผู้หญิงและการมีประจำเดือนอีกด้วย ซึ่งขณะนี้โครงการกำลังเปิดระดมทุนเพื่อซื้อถ้วยอนามัยยังฝันให้กับหญิงขาดแคลนผ่านเทใจ.คอม

 

คุณสานฝัน จิตต์มิตรภาพ ผู้ก่อตั้งโครงการยังฝันกล่าวถึงโครงการระดมทุนถ้วยอนามัยยังฝัน ว่า สามารถตอบโจทย์ทุกด้าน ทั้งในแง่สุขอนามัยจากกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อมในระดับสากล และยังช่วยลดภาระค่าครองชีพ เพราะถ้วยอนามัย 1 ถ้วย สามารถรองรับประจำเดือนได้นาน 12 ชั่วโมง ใช้ซ้ำได้ในแต่ละวันและมีอายุการใช้งาน 3-5 ปี อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกจากการใช้ผ้าอนามัย โดยที่ผ้าอนามัย 1 แผ่นสร้างขยะเท่ากับถุงพลาสติก 4 ถุง และอาจต้องใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 800 ปี ต่างจากถ้วยอนามัยที่ทำจากซิลิโคนทางการแพทย์และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม



ทั้งนี้ ระยะแรก โครงการจะเริ่มให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขอนามัยผู้หญิงและการมีประจำเดือนผ่านวิดีโอต่างๆ โดยจะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสัมภาษณ์เพื่อให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย  จากนั้นโครงการจะรวบรวมยอดบริจาค และเดินทางไปบริจาคถ้วยอนามัยตามชุมชนต่างๆ โดยจะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้หญิงและผู้ชายในชุมชนนั้นๆ อีกทั้งยังจะขอเก็บข้อมูลการใช้งาน (ขนาด ระยะเวลา การรั่วซึม ปัญหาที่พบ ฯลฯ) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการทำ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป สำหรับระยะยาว โครงการมีความตั้งใจที่จะขยายการขายและการบริจาคไปยังต่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงในประเทศอื่นๆที่เผชิญปัญหาการขาดแคลนผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับประจำเดือน

 

 “ท้ายที่สุด เมื่อเราสามารถลดภาระร่ายจ่ายสำหรับผู้หญิงได้ ก็จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและมาตรฐานความเป็นอยู่ของครอบครัวได้มากขึ้น” คุณสานฝันกล่าวและว่า 

 

ยังฝันเชื่อเสมอว่าการมอบอิสรภาพให้แก่ผู้หญิงนั้นจะต้องมอบอำนาจแบบที่มีโอกาสจะเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดให้แก่ตัวเอง ไม่ควรเป็นการยัดเยียด  ดังนั้น ภารกิจอย่างหนึ่งที่สำคัญของยังฝันจึงเน้นอบรมให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประจำเดือนและการใช้งานถ้วยอนามัย ไปพร้อม ๆ กับการมอบทางเลือกและโอกาสให้ผู้หญิงมีสิทธิ์เลือกที่จะขอรับถ้วยอนามัยไปใช้ภายหลังการอบรม ที่ผ่านมาได้นำร่องไปแล้วกับผู้หญิงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และในชุมชนเขตดุสิตร่วมกับผู้หญิงในโครงการกว่า 200 คน  (ถ้ารวมกับของเขตดุสิต กี่คนแล้วค่ะ และโครงการที่เปิดระดมทุนนี้ตั้งเป้าไว้กี่บาท กี่คนคะ)

 



“ประจำเดือนทำให้เด็กผู้หญิง 8 ใน 10 คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องขาดเรียน เพราะเขามีความกังวลมาก ไม่มีความมั่นใจ เนื่องจากเข้าไม่ถึงผ้าอนามัย…ถ้าเดือนไหนซื้อผ้าอนามัย 2-3 ห่อ เท่ากับเดือนนั้นเขาจะมีเงินสำหรับซื้อข้าวหรือสำหรับเรียนน้อยลง” คุณวรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ ผู้ก่อตั้งสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) กล่าว

 

สำหรับการทำงานร่วมกับกลุ่มลูกเหรียง นั้น ยังฝันได้ช่วยเหลือและเยียวยาเด็กเปราะบางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการเข้าไปมอบความรู้เรื่องการมีประจำเดือน  ระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง และการใช้งานถ้วยอนามัยยังฝันให้แก่เด็กผู้หญิงและตัวแทนชุมชนในจังหวัดยะลา กับมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง(สคส.) เข้าไปมอบความรู้และมอบถ้วยอนามัยให้แก่กลุ่มคุณแม่วัยใสใน 4 จังหวัด (เชียงใหม่ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชัยนาท) กับเขตดุสิตได้ร่วมมือกับสำนักงานเขตดุสิตเพื่อให้ความรู้และนำร่องถ้วยอนามัยในชุมชนแออัดต่างๆ กับโรงเรียนมีชัยพัฒนาในจังหวัดบุรีรัมย์ได้เข้าไปส่งเสริมให้ความรู้และพลักดันแคมเปญสุขอนามัยยามมีประจำเดือนของน้องๆ พร้อมกับบริจาคถ้วยอนามัยแก่เยาวชนทั้ง 150 คน และยังร่วมกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานีอีกด้วย

 


ร่วมบริจาคเงินเพื่อซื้อถ้วยอนามัยส่งมอบแก่ผู้หญิงที่ขาดแคลนได้แล้ววันนี้ที่ https://taejai.com/th/d/youngfun-menstrualcup/ เงินบริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามแต่กรณีผ่านระบบ e-donation ที่ต่อตรงถึงกรมสรรพากร

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์