4
สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านเหมืองแร่ ร่วมกิจกรรม
“ค่ายวิชาการเหมืองแร่” เรียนรู้เชิงปฏิบัติการทำงานเหมืองแม่เมาะ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้
ต่อยอดเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายด้านเหมืองแร่ในอนาคต
วันที่ 9 มกราคม 2566
ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เหมืองแม่เมาะ นายประจวบ ดอนคำมูล ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ
(ชชม.) เป็นประธานเปิดค่ายวิชาการเหมืองแร่ ครั้งที่ 16 (Mining
Camp) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-13 มกราคม 2566 โดยมีคณะผู้บริหารเหมืองแม่เมาะ
คณะอาจารย์ นิสิต และนักศึกษาจาก 4 สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านเหมืองแร่
ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมกิจกรรม
ทั้งนี้
ตลอดระยะเวลาจัดกิจกรรมค่ายวิชาการเหมืองแร่ นักศึกษาได้เรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในหัวข้อ งานปฏิบัติการขุดขน
, ระบบลำเลียงถ่านและการจัดการถ่านในลานกองถ่าน , งานระเบิดและเหมืองหินปูน ,
การวางแผนการทำเหมือง , งานธรณีวิทยา และงานวิศวธรรมธรณี
พร้อมนำเสนอหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
พร้อมทั้งเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ)ฯ
และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
นายประจวบ
ดอนคำมูล ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ (ชชม.) เปิดเผยว่า
ค่ายวิชาการเหมืองแร่ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2549 โดยปีนี้นับเป็นครั้งที่ 16 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเสริมทักษะประสบการณ์จากการสัมผัสกระบวนการทำเหมือง
พร้อมทั้งแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมสถาบันละ
6 คน
ขณะเดียวกัน ยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันการศึกษาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
และกระชับความสัมพันธ์รุ่นพี่และรุ่นน้องระหว่างผู้บริหาร , ผู้ปฏิบัติงานเหมืองแม่เมาะ
และคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน
ซึ่งจะเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายด้าน Mining ในอนาคตด้วย
หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมค่ายวิชาการเหมืองแร่จึงเกิดเป็นความร่วมมือด้านวิชาการเหมืองแร่ขึ้น
โดยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันฉบับแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2552 กรอบเวลา 5
ปี ระหว่าง กฟผ. เหมืองแม่เมาะ ร่วมกับ 3 สถาบันการศึกษา ได้แก่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อมาเมื่อวันที่
22 มิถุนายน 2561 ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกันเป็นฉบับ 2
ซึ่งมหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้เข้าร่วมลงนามเพิ่มเติมในครั้งนี้ด้วย
สำหรับบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีเจตนารมณ์ร่วมกัน
ดังนี้ 1. กฟผ. สนับสนุนการจัดอบรมในรูปแบบค่ายวิชาการเหมืองแร่เป็นประจำทุกปี 4
สถาบันการศึกษา , 2. กฟผ.
ให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางการศึกษาและวิจัยทางด้านเหมืองแร่ระหว่าง
กฟผ.และ 4 สถาบันการศึกษา , 3. ทุกหน่วยงานร่วมกันเสริมสร้างศักยภาพให้ กฟผ.
เหมืองแม่เมาะ
เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรมทางด้านเหมืองแร่แก่สถาบันการศึกษาของภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศ
และ 4. 4
สถาบันการศึกษาส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเหมืองแร่แก่บุคลากรของ กฟผ.
เป็นประจำทุกปี
นายนิพิฐพนธ์
ไชยรัตน์ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กล่าวว่า การเข้าร่วมค่ายวิชาการเหมืองแร่ทำให้ได้เห็นเครื่องจักรที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
ได้เรียนรู้เทคนิค วิธีการทำงานต่างๆ ของพี่ๆ ทำให้ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ในหลากหลายมิติ
รวมถึงได้รู้จักเพื่อนใหม่จากต่างสถาบันการศึกษา รู้สึกสนุกมาก
ด้าน นายณัฐพงษ์
วรรณภิละ นักศึกษาภาควิชาเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ดีใจที่ได้มารู้จักกับเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย ได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ
ได้แลกเปลี่ยนทั้งความรู้ ประสบการณ์การเรียน และประสบการณ์ฝึกงานสายงานเหมืองแร่ของแต่ละมหาวิทยาลัย
ทำให้ทราบว่าในงานเหมืองแร่มีสิ่งน่าสนใจมาก และที่สำคัญก็คือการได้ทำงานร่วมกับเพื่อนต่างสถาบัน
ขณะที่ นางสาวรัศมีมาตา
ปิยนันท์โรจนกุล นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมค่ายกิจกรรมครั้งนี้ ได้ทั้งความรู้ ความสนุก
ได้รู้จักพี่ๆ ที่ทำงานในสายงานเดียวกัน ได้เพื่อนใหม่จากมหาวิทยาลัย และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งความรู้และเรื่องราวต่างๆ
ที่ไม่ใช่แค่ในตำรา ได้ศึกษาและเรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างที่มีโอกาสศึกษาในมหาลัยได้ยาก
เช่น ได้เห็นหน้างานและการทำงานจริง เป็นต้น
ทั้งนี้ ต้องขอบคุณทาง
กฟผ. ที่จัดกิจกรรมดีๆ และมอบโอกาสให้พวกเราได้มาร่วมกิจกรรมดีๆ แบบนี้ ขอบคุณพี่ๆ
และทุกคนที่เกี่ยวข้องที่ให้การต้อนรับและดูแลพวกเราเป็นอย่างดี และต้องขอบคุณเพื่อนๆ
ที่น่ารักที่มาสนุกด้วยกัน ดีใจที่ได้เจอทุกคน
นางสาวยุพเรศ สิงห์บี้ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวว่า การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้เรียนรู้การทำงานในบ่อเหมือง เห็นการทำงานของเครื่องจักรที่ไม่เคยได้เห็น ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างเป็นระบบแบบแผน ทำตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และได้เพิ่มประสบการณ์ให้กับตนเองจากการได้เห็นหน้างาน ได้รู้จักเพื่อนต่างสถาบัน ได้แลกเปลี่ยนการใช้ชีวิต การเรียนของเพื่อนต่างสถาบัน พี่ๆ ทุกคนดูแลดี ให้ความกระจ่างในเรื่องที่สงสัย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น