วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2566

กลุ่มครูลำปางแต่งชุดดำ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ คัดค้านการนำเข้าร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่อยู่ระหว่างพิจารณาในสภาฯ

 



วันที่ 16 มกราคม 2566 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย อ.เมืองลำปาง จัดกิจกรรมเนื่องวันครูแห่งชาติ ภายใต้หัวข้อ “พลังครู คือหัวใจของการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา”  Teacher’s Power is the Heart of Transforming the Educational Quality โดยมีครูทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่เช้า   โดยมีการทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง พร้อมร่วมแสดงความยินดีแก่ครูที่ได้รับรางวัลสาขาต่างๆท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่น และคึกคัก




ขณะเดียวกันได้มีกลุ่มครู ประมาณ 20 คน ในนามชมรมครูจังหวัดลำปาง ได้แต่งชุดดำเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ คัดค้านการนำเข้าร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ที่อยู่ระหว่างพิจารณาในสภา นำโดยนายประกาศิต สิงห์หล้า ประธานชมรมครูอำเภอเมืองลำปาง เลขานุการ ชมรมครูจังหวัดลำปาง




นายประกาศิต  เปิดเผยว่า ตัวแทนคณะครูของ จ.ลำปาง ขอแสดงออกและเรียกร้องคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..... ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาในวาระ 2 และวาระ 3  เพราะใกล้จะหมดอายุของรัฐบาลแล้ว  การพิจารณาผ่านร่างกฎหมายต่างๆ ควรจะต้องทำอย่างรอบคอบและควรให้ทางคณะครูซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาได้มีส่วนร่วมกับร่างนี้  จึงขอให้พิจารณาหลังการเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา  

เนื่องจาก ร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับนี้ จะเป็นแผนแม่บทที่กำหนดทิศทางการศึกษาของบุตรหลาน และวิชาชีพครู  ซึ่งมีความจำเป็นต้องปรับแก้ประเด็นสำคัญในหลายมาตรา ที่อยู่ระหว่างประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยพบว่าไม่มีอะไรชัดเจนและบางมาตรการก็ไม่ส่งผลดี ทางชมรมครูทั่วประเทศและในจังหวัดลำปาง จึงได้รวมตัวกันแต่งกายชุดดำแสดงจุดยืน ขอให้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ กันอย่างรอบคอบ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนของเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชน ครู และประเทศชาติ




ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว ทางคณะครูได้จัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10-16 มกราคม 66  โดยมีร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว คณะครูประเด็นที่น่ากังวลอยู่ 4 มาตรา ดังนี้

1.มาตรา 3 ว่าการยกเลิกคำสั่งคสช. ที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งคณะกรรมาธิการเสียงส่วนมากให้แก้ไข แต่ในที่สุดกลับลงมติกลับเป็นร่างรัฐบาล ทำให้มรดกคำสั่งคสช.ทำลายหลักธรรมาภิบาล เช่น คำสั่งคสช.ที่ 7/2558 และคำสั่งคสช.ที่ 17/2560 ยกเลิกพ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

เดิมคุรุสภามีบอร์ดบริหารมีผู้แทนจากวิชาชีพครู แต่คำสั่งคสช.ที่ 7/2558 ทำให้คุรุสภาไม่มีผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพครูมาเป็นผู้แทน  แต่ปรับเปลี่ยนบอร์ดใหม่ประกอบด้วย รัฐมนตรีศึกษา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารสูงสูดจาก 5 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

2.มาตรา 40 วรรค 2 ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนวิทยฐานะ ทำให้บุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษาจะไม่ได้รับเงินวิทยฐานะ ประกอบด้วยผอ.เขตพื้นที่การศึกษา รองผอ.เขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศน์ ทำให้ค้างคาใจเนื่องจากเป็นสิทธิที่เคยได้รับมาก่อนแต่ในร่างพ.ร.บ.การศึกษา ไม่มีการแก้ไขให้กลับมาเหมือนเดิม อีกทั้งไม่รับรับฟังเสียงท้วงติงจากครูในเรื่องนี้

3.มาตรา 42 เกี่ยวกับคำสั่ง คสช. เป็นการออกแบบสภาวิชาชีพครูใหม่ เดิมคุรุสภาเป็นสภาวิชาชีพ แต่เปลี่ยนใหม่ให้คุรุสภาเป็นองค์กรของครู เมื่อกฎหมายแม่ออกมาแบบนี้ พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ตกไป

4.มาตรา 106 ว่าด้วยการให้อำนาจ รัฐมนตรี ปลัดศธ. เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการกระทรวงศึกษาฯ หมายความว่า จะใช้ระบบการสั่งการจากบนลงล่าง หรือ "ซิงเกิลคอมมานต์" ย้อนแย้งกับโลกความจริงที่เปลี่ยนแปลงไปมากหลังวิกฤตโควิด-19

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์