วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566

“ดัชนีความร้อน” ต่างกับอุณหภูมิยังไง?



เรามาทำความรู้จัก “ดัชนีความร้อน” กันดีกว่า จะเหมือนกับอุณหภูมิสูงไหม หรือต่างกันตรงไหน? ไปดูกันเลย 

ดัชนีความร้อน หรือ Heat Index คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้น (Apparent Temperature) ว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฏในขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริงและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น ซึ่งค่าดัชนีจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อระบุความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้นั่นเอง ซึ่งค่าดัชนีความร้อนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้ 

เฝ้าระวัง : 27-32 องศาเซลเซียส (สีเขียว) ทำให้อ่อนเพลียวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความ ออกกำลังกาย หรือการใช้แรงงานกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อน

เตือนภัย : 32-41 องศาเซลเซียส (สีเหลือง) เกิดภาวะตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

อันตราย : 41-54 องศาเซลเซียส (สีส้ม) มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

อันตรายมาก : มากกว่า 54 องศาเซลเซียส (สีแดง) เกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก

ดังนั้น ในวันที่ค่าดัชนีอากาศสูงเช่นนี้ ควรสังเกตอาการตนเองบ่อย ๆ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรลดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็น ควรสวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ สุรา และน้ำอัดลม



Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์