วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

“ดื่มน้ำคลายร้อน” มากไประวัง “ภาวะน้ำเป็นพิษ”


 

ต้องยอมรับว่าขณะนี้เรากำลังอยู่ในบรรยากาศแห่งความร้อนแรงไปซะทุกเรื่อง อันดับแรกต้องยกให้กับสภาพอากาศของฤดูร้อน ยังไม่นับรวมถึงความร้อนแรงของเรื่องเศรษฐกิจการเมือง หรือแม้แต่ข่าวดังเรื่องการฆาตกรรมที่กำลังทำให้ชาวสังคมมีอาการหัวร้อนในตอนนี้ก็ตาม...สิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักเลือกทำในอันดับแรกๆ เมื่อต้องการดับความร้อนให้แก่ร่างกายนั่นคือ “การดื่มน้ำ”

 

ทว่าคุณทราบหรือไม่???.....การดื่มน้ำในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลให้เสียชีวิตลงได้!!!!

 

“การดื่มน้ำ” นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบ 2 ใน 3 ของร่างกาย แต่คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าหากดื่มน้ำมากเกินไปคือ วันละ 6-7 ลิตร ส่งผลให้ร่างกายได้รับน้ำปริมาณมากเกินไปในเวลารวดเร็วจนเกิด “ภาวะน้ำเกิน” หรือ “น้ำเป็นพิษ” (Water Intoxication) ขึ้นได้

 

ภาวะน้ำเป็นพิษ (Water intoxication or Water poisoning) เกิดจากการที่ดื่มน้ำมากจนเกินไป ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเลือดมาก และภาวะโซเดียมในเลือดน้อยเกินแบบเจือจาง (Dilutional Hyponatremia) ทั่วไปมักเป็นภาวะที่ก่ออาการผิดปกติเฉียบพลัน โดยอาจจากการดื่มน้ำ/บริโภคน้ำมากเกินไป หรือจากการที่ร่างกายสะสมน้ำมากขึ้นๆ และ/หรือไม่สามารถกำจัดน้ำออกจากร่างกายได้ในอัตราปกติ จึงส่งผลให้ปวดศีรษะ ตะคริว ชัก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน บวม ส่งผลกระทบต่อเซลล์สมอง ซึ่งอาจอันตายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

อนึ่ง สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยภาวะน้ำเป็นพิษเสียชีวิต คือ การเกิด ภาวะสมองบวม ที่เกิดจากมีการสะสมน้ำมากในร่างกาย ส่งผลให้เกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำมากและต่ำกว่าในเซลล์ทั่วร่างกายโดยเฉพาะเซลล์สมอง การมีโซเดียมที่เป็นตัวอุ้มน้ำนี้ต่ำ จะส่งผลให้น้ำในเลือดที่อยู่นอกเซลล์ซึมเข้าสู่ในเซลล์ ส่งผลต่อเนื่องให้เซลล์เกิดการบวมน้ำ หรือกรณีของสมอง ก็คือ เกิดภาวะสมองบวม ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการ ปวดศีรษะรุนแรง ชัก โคม่า และอาจเสียชีวิตในที่สุดถ้าแพทย์แก้ไขภาวะสมองบวมได้ไม่ทัน

 


สำหรับ “ภาวะน้ำเป็นพิษ” สามารถพบได้ทั่วโลก ไม่ขึ้นกับเชื้อชาติ แต่ไม่มีรายงานสถิติเกิดที่แน่ชัดเพราะมักแยกรายงานตามแต่ละสาเหตุซึ่งมีได้หลากหลายสาเหตุ  โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะน้ำเป็นพิษที่พบบ่อยๆ  ได้แก่ เด็กอ่อน โดยเฉพาะที่อายุต่ำกว่า 9เดือน เพราะร่างกายเด็กอ่อนมีน้ำเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูงอยู่แล้ว คือประมาณ 75% จึงเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำเป็นพิษจาก เด็กบริโภคน้ำมากเกินไป รวมทั้งร่างกายเด็กยังเก็บสะสมโซเดียมได้น้อยจึงเสี่ยงที่จะมีโซเดียมในเลือดต่ำได้ง่าย นักกีฬาประเภทที่ออกแรง/ใช้กำลังมาก เช่น วิ่งมาราธอน ไตรกีฬา แข่งจักรยาน แข่งเรือพาย นักกีฬากลุ่มนี้จะกระหายน้ำมาก เพราะร่างกายจะเสียน้ำทางเหงื่อมาก จึงมักมีการดื่มน้ำระหว่างการแข่งขันสูงเกินปกติ การเสียเหงื่อมากสาเหตุที่ไม่ใช่จากีฬา เช่น คนทำงานประเภทใช้แรงมาก ออกแดดจัด หรือการบริโภคยาบางประเภท(เช่น ยากลุ่ม MDMA) ซึ่งการเสียเหงื่อมากจะเสียโซเดียมทางเหงื่อมากขึ้น รวมถึงกระหายน้ำมาก จึงดื่นน้ำเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้ป่วยทางจิตเวชหลายกลุ่ม จะมีพฤติกรรมที่ดื่มน้ำมากตลอดเวลาทั้งจำนวนและปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละครั้ง จนส่งผลให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่กินอาหารทางปากไม่ได้/ได้น้อย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับอาหารและน้ำดื่มจากท่อให้อาหาร และ/หรือร่วมกับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้ง่าย เพราะอาหารประเภทดังกล่าวจะมีโซเดียมต่ำกว่าอาหารปกติทั่วไป

 

นอกจากนี้ยังมีอีกกลุ่มที่พบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากร่างกายสะสมน้ำ หรือกำจัดน้ำออกจาร่างกายได้น้อยกว่าปกติ ที่ ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ซึ่งโรคต่างๆ ดังกล่าวเป็นโรคที่ส่งผลให้ร่างกายมีการสะสมน้ำในร่างกายมากขึ้น ผู้สูงอายุ เพราะเป็นวัยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ที่ส่งผลให้มีการสะสมน้ำในร่างกายสูงเกินปกติ เช่น โรคดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ โรคประจำตัว

อย่างไรก็ตาม แพทย์ได้ให้คำแนะนำไว้ง่ายๆ ว่า ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เหมาะสมเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเฉลี่ยวันละ 8-10 แก้ว (1.5-2 ลิตร/คน/วัน) หรือดื่มเพิ่มตามน้ำหนักตัว ช่วงหน้าร้อน ไม่ควรดื่มน้ำคราวเดียวทีละมากๆ แต่ควรจิบบ่อยๆ ตลอดวัน

กอบแก้ว แผนสท้าน...เรื่อง

 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์