วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ทำความรู้จักกับ “โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา” โรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งเดียวของประเทศไทย

โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยงสร้างแบบหินถมราดด้วยยางมะตอยเพื่อป้องกัน เก็บกักน้ำได้ 10.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ตัวอาคารโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ถูกสร้างไว้ใต้ระดับผิวดินลึกกว่า 350 เมตร  

        เป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง ใช้กังหันน้ำแบบสูบกลับชนิด Vertical Shaft Francis Type มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 500 เมกะวัตต์ ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเมื่อปี พ.ศ.2547


ชื่อของ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนามีความหมายว่า โรงไฟฟ้าลำตะคองเป็นที่พัฒนาแสงไฟด้วยน้ำ   พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปเปิดโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556  

ปัจจุบันโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา มีขนาดกำลังผลิตตามสัญญา 1,000 เมกะวัตต์ ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง เป็นเชื้อเพลิงหลัก



การทำงานของโรงไฟฟ้า จะเป็นพลังน้ำแบบสูบกลับ สร้างอยู่ใกล้กับเขื่อนลำตะคอง ทำงานโดยการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนกรมชลประทาน ไปเก็บไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง ในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยหรือช่วงกลางคืนถึงเช้า และเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในช่วงกลางวันถึงค่ำ จะปล่อยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า และปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองเหมือนเดิม



สำหรับ โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งของ จ.นครราชสีมา นอกจากจะมีอากาศที่ดีและวิวทิวทัศน์ที่สวยงามแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานสะอาดที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีกิจกรรมร่วมกับชุมชนจัดนำเที่ยวชมวิวอุทยานธรณีโคราช (Khorat Geopark) รวมทั้ง ยังเป็นสถานที่จัดแข่งขันโคราชฮาล์ฟมาราธอนลอยฟ้าในเดือนธันวาคมของทุกปี และเป็นกิจกรรมในปฏิทินการท่องเที่ยวของ ททท. อีกด้วย

และในปี 2564  Thailand Tourism Gold Awards ประเภทแหล่งท่องเที่ยว สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ จากโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา และรางวัลดีเด่น Thailand Tourism Awards จากศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง จ.นครราชสีมา






Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์