เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยพร้อมภาคเอกชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมการทำงานของ กฟผ. แม่เมาะ ขยายความร่วมมือและสนับสนุนศักยภาพ ก้าวสู่การเป็นพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
นายนะชิดะ
คะสุยะ (H.E.
Mr. Nashida Kazuya) เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย พร้อมด้วย
องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO) ประเทศญี่ปุ่น
ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) บริษัท
มารูเบนิ จำกัด (Marubeni Thailand) บริษัท อินเป็กซ์
คอร์ปอเรชั่น จำกัด (INPEX Corporation) บริษัท เจร่า
พาวเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (JERA Power (Thailand) Co., Ltd.) ลงพื้นที่เยี่ยมชมการทำงานในบ่อเหมืองแม่เมาะ
และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแม่เมาะ เครื่องที่ 14 (MM-T14) กฟผ.
แม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยมี นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ.
ผู้บริหารกระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และคณะผู้บริหาร กฟผ. แม่เมาะ
ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายภาพรวมภารกิจเหมืองแม่เมาะและโรงไฟฟ้าแม่เมาะ การพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับธุรกิจที่ต้องการพลังงานสะอาด
โครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่
และการศึกษาศักยภาพในการเป็นแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) รวมถึง Power Plant Construction และ Digital
IoT Project โดย บริษัท มารูเบนิ จำกัด ณ อาคารประชาสัมพันธ์แม่เมาะ
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา
นายนะชิดะ
คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่ กฟผ.
แม่เมาะ ให้ความสำคัญด้านการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจพื้นที่โดยรอบ กฟผ.
แม่เมาะ ที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นและหน่วยงานเอกชนญี่ปุ่น
ได้ดำเนินโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
เดินหน้าพัฒนาสู่พลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ตลอดจนขยายความร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ร่วมกับ กฟผ.
เชื่อมั่นนโยบายที่ดำเนินการในปัจจุบัน ทั้งเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon
Neutrality) BCG Model การกักเก็บคาร์บอนไดออกไซต์ (CCS) จะเป็นการตอกย้ำส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมในอนาคต
นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง (รวช.) กล่าวว่า การศึกษาศักยภาพและความเป็นไปได้ในการเป็นแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) ในพื้นที่เหมืองแม่เมาะของ กฟผ. อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลขั้นต้น เชื่อมั่นว่าการสนับสนุนอย่างดีจากรัฐบาลญี่ปุ่นและภาคเอกชน จะช่วยพัฒนา CCS และโครงการพลังงานสีเขียวต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน ช่วยผลักดันให้ไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคต ขณะเดียวกันยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และดูแลด้านสิ่งแวดล้อมรอบพื้นที่ กฟผ. แม่เมาะอย่างยั่งยืน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น