วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

โครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะดี จากงาน Thailand Smart City Expo 2023


เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566  นายสุทธิพงษ์ เฉลิมเกียรติ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 เป็นผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เข้ารับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ระดับดี ในงาน Smart City Solutions Awards 2023  จากการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาแปรรูปเป็น Biomass Pellet เพื่อเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ร่วมกับถ่านหินที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ช่วยแก้ปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5  จากการเผาพื้นที่การเกษตร ลดการใช้ถ่านหิน และสร้างรายได้ให้ชุมชนจาก การขายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยเข้ารับรางวัลจากนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ณ ฮอลล์ 3 - 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


นายสุทธิพงษ์ เฉลิมเกียรติ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2  กล่าวว่า กฟผ. ได้ดำเนินงานตาม “แผนพลังงานชาติ” ที่มีเป้าหมายมุ่งสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 พร้อมรับมือการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีควบคู่กับการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ตามแนวทาง 4D1E ของกระทรวงพลังงาน คือ Decarbonization: การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน Digitalization: การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการระบบพลังงาน Decentralization:การกระจายศูนย์การผลิตพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน Deregulation: การปรับปรุงกฎระเบียบรองรับนโยบายพลังงานสมัยใหม่ และ Electrification: การเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยพัฒนาเมืองรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านพลังงานผ่านโครงการต่าง ๆ


งาน Thailand Smart City Expo 2023 จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ภายในงาน กฟผ.ได้จัดแสดงนวัตกรรม Smart Energy Solutions ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิด “เมืองอัจฉริยะ” ส่งเสริมแนวทาง ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยี โดย กฟผ.แม่เมาะได้ดำเนินโครงการแม่เมาะเมืองน่าอยู่ (Mae Moh Smart City) ที่พัฒนาต้นแบบ Smart City ระดับพื้นที่ที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างความสมดุลของมิติความยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน 



Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์