วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ข้าวสายน้ำแร่แจ้ซ้อน เกษตรกรยืนหยัดได้ ปลอดภัยต่อผู้ผลิต ปลอดสารพิษต่อผู้บริโภค

อำเภอเมืองปาน มีอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญเป็นอันดับ 1 ของลำปาง โดยชาวบ้านตำบลแจ้ซ้อน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ไม่มีรายได้จากการท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ นายจรัญ สิทธิจู ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยไร้เคมีแจ้ซ้อน ตำบลแจ้ซ้อน และประธานกลุ่มข้าวหอมสายน้ำแร่แจ้ซ้อน เกิดแนวคิด น่าจะเอาธรรมชาติที่มีอยู่ มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนที่มีวิถีเป็นชาวนา เพราะนาที่นี่มีน้ำมอญที่มาจากสายน้ำแร่แจ้ซ้อนผ่านทุ่งนา จึงเป็นที่มาของข้าวสายน้ำแร่แจ้ซ้อน เพราะทุกวันนี้เกษตรกร ลำบาก ไม่รวยสักที ดังคำที่ว่า เกษตรกรมีแต่ซื้อตะกร้า แต่พ่อค้าซื้อรถ”



ปัญหาและอุปสรรคแก้ไขได้ด้วยการจัดการ


ลำดับต้นๆ ของปัญหา และอุปสรรคการประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะค่าแรงงาน และค่าจ้างเครื่องจักรกล การแก้ไขปัญหาการลดต้นทุนการผลิตด้วยการผลิตน้ำหมัก และสารชีวภัณฑ์ ส่วนปัญหาด้านค่าแรงงานและค่าจ้างเครื่องจักรกล แก้ไขด้วยการลงแขก ในช่วงการปลูกและการเก็บเกี่ยว เป็นการอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เพื่อปรับสมดุลชีวิตให้พอดี เกิดความสุข และผ่อนคลาย

ชาวนาไม่ใช่นักขาย การร่วมมือจึงสำคัญ

จากการสนับสนุนจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ในด้านวิชาการ การบริหารจัดการ และการตลาด ร่วมกับความมุ่งมั่นตั้งใจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ต่อมาในปี 2562 มีการจัดทำลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับสหกรณ์การเกษตรห้างฉัตร รับซื้อข้าวสายน้ำแร่แจ้ซ้อน เป็นข้าวอินทรีย์มาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ ของกรมการข้าว โดยข้าวเปลือกอินทรีย์ขายในราคากิโลกรัม ละ 20 บาท และข้าวเปลือกระยะปรับเปลี่ยนขายในราคากิโลกรัมละ 18 บาท ซึ่งหากนำมาเปรียบเทียบกับราคาขายข้าวเปลือกทั่วไป ที่ขายกิโลกรัมละ 8 - 8.70 บาท ถือว่ามีราคาสูง ทำให้เกษตรกรมีความพอใจและมีรายได้ที่มากขึ้น  

  

ได้อะไรจากหลักสูตร Train of the trainer ?

เป็นการเปิดประสบการณ์ เปิดโลกทัศน์ ได้เห็นและได้เรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ


การอบรมในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อการนำมาปรับใช้อย่างมาก ทั้งความรู้เกี่ยวกับสารชีวภัณฑ์ต่างๆ เป็นการได้ทบทวนความรู้ให้มั่นใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับความรู้ที่หลากหลาย มีการแลกเปลี่ยน เกิดการสร้างเครือข่ายที่ดีของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดลำปาง  

การได้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ได้รับรู้ถึงอุดมการณ์ ความคิด ความตั้งใจ เทคนิควิธีการต่างๆ จากท่านวิทยาการชื่อดัง อาทิ ท่าน ว. วชิรเมธี และกลุ่มชุมชนปางมะค่า ที่เป็นที่รู้จักหลากหลาย ในสื่อต่างๆ จึงทำให้เกิดการจุดประกาย สร้างแรงผลักดัน ที่จะนำแนวคิด อุดมการณ์ต่างๆ มาปรับใช้ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

 


ความรู้ที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นเทคนิค วิธีการ การดูแลต้นไม้ ช่องทางการสร้างเครือข่าย การตลาด ให้เข้ากับบริบทชุมชน โดยมีการนำความรู้เรื่อง โคก หนอง นา และความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้ ในแปลงมีการปลูกผักอินทรีย์ เช่น พวกเถาวัลย์ บวบหวาน โดยเฉพาะพริกจากจังหวัดสุรินทร์ซึ่งปัจจุบันได้ตกลงสัญญาซื้อขายในราคาประกันกิโลกรัมละ 30 บาท

 


โดยรวมแล้วรู้สึกประทับใจในโครงการนี้เป็นอย่างยิ่งที่เป็นโครงการที่ดี มีการศึกษาดูงานในพื้นที่ที่น่าสนใจมาก เกิดประโยชน์และเกิดแนวโน้มการขยายผลสูง



 

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์