วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566

จากเกษตรกรต่างถิ่น สู่ผู้เพาะพันธุ์กาแฟโรบัสต้า-สะตอที่ลำปาง


ทรงวุธ มีศิริ เจ้าของสวน “ศิริรัศมี” เกษตรกรผู้เพาะพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ที่ทนสภาพอากาศร้อน – แล้ง ของลำปางได้สำเร็จ  ปลูกที่สวนศิริรัศมี ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง นอกจากนี้ยังมีการนำสะตอ ผักพื้นบ้านของภาคใต้ ที่เป็นที่ต้องการของตลาด ปัจจุบัน ผลผลิตไม่พอขาย  ภายในแปลงมีการทำเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ พืชผัก ไม้ผลนานาชนิด ให้ผลผลิตที่สามารถสามารถจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี

 


ทรงวุฒิ และภรรยา มีภูมิลำเนาเป็นคนปักษ์ใต้ มาเริ่มต้นการทำการเกษตรที่สวนศิริรัศมี  มีสะตอ และกาแฟโรบัสต้า ที่เป็นรายได้หลักของสวน โดย 2 ปีแรก ได้ทดลองปลูกพืชผักหลากหลายชนิด ได้แก่ พริก แตงกวา มันเทศ ฟักทอง ได้ผลผลิตจำนวนมาก แต่ไม่มีช่องทางการตลาด  จำหน่ายไม่ได้ จึงวางแผนการผลิตใหม่ และทดลองปลูกพืชชนิดอื่นเพิ่มเติมต่อมาได้นำผลผลิตไปจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางที่ตลาดออมสิน ประมาณ 5 ปี ศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร (ตลาดเกษตรกร) จังหวัดลำปาง และปัจจุบันได้นำผลผลิตของตนไปจำหน่ายที่กาดนั่งก้อม สวนสาธารณหนองกระทิง มีแตงล้าน ถั่วฝักยาว ผักสลัด มะพร้าว น้อยหน่าสีม่วง ส้ม มะละกอ ตะไคร้ กล้วย มะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น  

 


กาแฟโรบัสต้าทนร้อน-แล้ง ปลูกได้ที่ลำปาง


ทรงวุธ ได้เล่าจุดเริ่มต้นของการปลูกกาแฟโรบัสต้าว่า  ได้ไปดอยช้างเพื่อหาข้อมูลการปลูกกาแฟ พบว่าในพื้นที่อำเภอเมืองลำปางอาจปลูกกาแฟไม่ได้ เพราะภูมิอากาศร้อนมาก และได้รับคำแนะนำให้นำสายพันธุ์โรบัสต้าไปทดลองปลูก ตนจึงได้นำต้นกาแฟจากจังหวัดชุมพรมาทดลองปลูก จำนวน 2,000 ต้น เหลือที่ได้ผลผลิตเพียง 40 ต้น เมล็ดกาแฟมีขนาดเล็กมาก แต่ก็มีความตั้งใจนำไปขยายพันธุ์กว่า 5 ปี นำไปสู่การประสบความสำเร็จ ปัจจุบัน ขยายพันธุ์เป็น 2,000 ต้น ได้กาแฟโรบัสต้าที่ต้น ใบ และเมล็ดสีม่วง ที่มีคุณภาพ และมีการแจกจ่าย/จำหน่ายต้นพันธุ์ให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่แล้งทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด

ระหว่างแถวของต้นกาแฟก็ได้ทำการปลูกพืชยืนต้น ได้แก่ สะตอ มะม่วง และอื่นๆ โดยสะตอได้สายพันธุ์มาจาก จังหวัดชุมพร บ้านเกิดของภรรยา

 

ได้อะไรจากหลักสูตร Train of the trainer ?


จากการร่วมอบรมในโครงการนี้ ทำให้ได้เทคนิคต่างๆที่เราไม่รู้  เช่นการเสียบยอดได้ เรื่องดิน ภูมิอากาศ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคต่างๆจากเพื่อนเกษตรกร นำไปใช้ได้จริง จากที่เคยคิดว่าอยากจะทำแต่ไม่รู้ทิศทาง ไม่มีความรู้ การอบรม-ศึกษาดูงาน ทำให้เราไขปัญหาได้ เป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกรที่มีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ จากเมื่อก่อนที่เราต้องลองผิดลองถูก รอผลลัพธ์จากผลผลิตทั้งฤดูกาล แต่ปัจจุบันมีห้องแล็บที่สามารถค้นหาการผิดพลาดได้รวดเร็ว ทำให้พึงพอใจที่มีทุนสนับสนุนและได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  ถ้ามีหลักสูตรให้เข้าร่วมอีกก็จะไปร่วมทุกครั้ง

 

ฝากถึงเกษตรกรที่ยังท้อถอย ลองเริ่มต้นแบ่งที่ดินสัก 2 งาน แล้วปลูกพืชผลปลอดภัยไว้รับประทานเองดูก่อน หากอยากได้ข้อมูลให้สอบถามเข้ามาในกลุ่ม ทุกคนเต็มใจตอบทุกคำถามเพื่อแลกเปลี่ยนนำไปสู่การช่วยแก้ปัญหา






Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์