การขับขี่รถยนต์ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือเรื่อง
"ทะเบียนรถ" ที่จะต้องมีการจ่ายภาษีรถยนต์ประจำทุกปี สำหรับใครที่ยังสงสัยเกี่ยวกับการต่อทะเบียนรถยนต์กรณีที่
ทะเบียนขาด เกิน 3 ปี ว่ามีค่าใช้จ่ายเท่าไร
และต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้มีคำตอบ
“ทะเบียนขาด”
ในที่นี้หมายถึง “การขาดการต่อภาษีทะเบียนกับกรมขนส่ง”
ซึ่งในแต่ละปีรถเรามีค่าใช้จ่ายประจำปีตามกฎหมายก็คือ พ.ร.บ. และ
ต่อภาษีทะเบียนรถ สำหรับการต่อทะเบียนรถหรือจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปี
เราจะได้รับป้ายสี่เหลี่ยมหรือป้ายวงกลมจากกรมขนส่งที่ระบุวันที่ต่อภาษีในปีถัดไป
ซึ่งถ้าไม่ไปทำการจ่ายภาษีในวันที่กำหนดเกิน 3 ปี ก็จะถือว่าเป็นการขาดต่อภาษีทะเบียนรถ
นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ทะเบียนรถขาด” และถือว่าเป็นการ
"แจ้งจอด" โดยจะมีจดหมายจากกรมขนส่งมาถึงเจ้าของรถให้ระงับการใช้งานรถยนต์และเลขทะเบียนรถคันนั้นจะถูกยกเลิกทันที
เจ้าของรถจะต้องนำแผ่นป้ายและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน
ทำการบันทึกการระงับทะเบียนภายใน 30 วัน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000
บาท แต่เมื่อทะเบียนรถขาดเกิน 3 ปี
จะต้องดำเนินการขอทะเบียนรถใหม่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมภาษีย้อนหลังสูงสุด 3 ปี
จะไม่สามารถใช้ทะเบียนเดิมได้อีกต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าภาษีย้อนหลัง และขอจดทะเบียนรถใหม่ พร้อมโอนรถ ยกตัวอย่าง ประเภทรถยนต์เก๋งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 1,500 CC ภาษีขาดเกิน 3 ปี ต้องทำอย่างไรไปดูกัน
ท่านจะต้องนำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานขนส่งจังหวัด โดยเจ้าหน้าที่จะให้เอกสารจดทะเบียนใหม่มา
เพื่อกรอกข้อมูล เซ็นชื่อ
กลับไปรับบัตรคิว เสียค่าใช้จ่ายรอบแรก
ประกอบด้วย แสตมป์อากร 30 บาท จ่ายภาษีย้อนหลัง
2788 บาท และค่าปรับ 200 บาท
จากนั้น
ต้องนำรถไปตรวจสภาพ (กรณีที่รถเกิน 10 ปี) ตรวจเสร็จรับเอกสารคืน แล้วไปซื้อ พ.ร.บ.
มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 632.37 บาท (แล้วแต่ประเภทรถยนต์) และกลับไปรับบัตรคิวอีกครั้ง เพื่อขอจดทะเบียนใหม่ โดยเจ้าหน้าที่จะประเมินราคารถเพื่อคิดค่าจะทะเบียนใหม่
เช่น รถราคา 1 แสนบาทต่อ 500 บาท กรณีรถยนต์เก๋งคันตัวอย่าง มีราคา 1 แสนต้นๆ จึงตีเป็น 2 แสนบาท ดังนั้นต้องจ่ายเงิน
1,000 บาท และมีค่าจดทะเบียน 350 บาท รวมค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนใหม่
อยู่ที่ 1,350 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจ่ายภาษีย้อนหลัง
3 ปี และขอจดทะเบียนรถใหม่ พร้อมโอนรถเป็นเงิน 5,000.37 บาท
หากใครที่มีรถยนต์เก๋งทะเบียนขาดเกิน 3 ปี ให้เตรียมเงินไว้ได้เลย ไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทจ้า
*หมายเหตุ
- ราคาสำหรับต่อภาษีของรถแต่ละคันขึ้นอยู่กับประเภทรถนะจ๊ะ
- กรณีที่ไม่โอนรถ ให้ตัดค่าประเมินรถแสนละ 500 ออกไป
เอกสารที่ต้องเตรียมต่อภาษี
- บัตรประชาชนตัวจริง
- เล่มทะเบียนรถยนต์
เอกสารที่ต้องเตรียมโอนรถ
- สำเนาบัตรประชาชน (เอาบัตรตัวจริงไปด้วยนะ)
- เล่มทะเบียนรถยนต์
- ชุดเอกสารหนังสือมอบอำนาจโอนรถ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น