วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567

กฟผ.แม่เมาะร่วมมือ มช. จัดทำแม่จางโมเดล ศึกษาข้อมูลฝายและสิ่งกีดกวางทางน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำจาง แก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง



วันที่ 26 ม.ค. 67  นายพัชระ สิมะเสถียร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นปรธานเปิดการประชุมรายงานสรุปผลการศึกษา การพัฒนาระบบสารสนเทศ การตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพและการพัฒนาระบบข้อมูลขงสิ่งกีดขวางทาน้ำในลำน้ำคูคลองและถนนในพื้นที่ลุ่มน้ำจาง  ซึ่งทำการศึกษาโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เป็นโครงการพัฒนาระบบและบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง บนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการขั้นสูงในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง

โดยมี รศ.ชูโชค อายุพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิชาการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ ม.เชียงใหม่  และ ผศ.ดร.ธวัชชัย ตันชัยสวัสดิ์ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่  เป็นผู้ให้ข้อมูลด้านการศึกษาต่างๆ  โดยเฉพาะฝายที่มีอยู่จำนวนมากที่ก่อสร้างและอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำน้ำคูคลองและถนนที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง พร้อมข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำในแต่ละแห่ง

จากการสำรวจฝายและสิ่งกีดขวางที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำแม่จาง จำนวน 17 ตำบล ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดลำปาง ได้แก่ อำเภอแม่เมาะ 5 ตำบล อำเภอแม่ทะ 10 ตำบล อำเภอเมืองลำปาง 1 ตำบล (ตำบลพระบาท) และ อำเภอเกาะคา 1 ตำบล (ตำบลวังพร้าว) พบว่ามีฝายจำนวน 334 ฝาย และจํานวนตำแหน่งสิ่งกีดขวางทางน้ำทั้งหมด 42 แห่ง เพื่อให้สามารถนำข้อมูลข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาไปวางแผนการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้ กฟผ. จึงได้เชิญกลุ่มเป้าหมายทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนที่เกี่ยวข้อง มาร่วมรับฟังการนำเสนอผลการศึกษาฯ ดังกล่าว และรับทราบช่องทางในข้อมูลตำแหน่งของฝาย สภาพฝาย ปริมาณตะกอน และสิ่งกีดขวางทางน้ำรวมถึงสภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาจะแสดงผ่านเว็บไซต์ เพื่อนำไปใช้วางแผนการจัดการพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงข้อมูลดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลของจังหวัดลำปางต่อไป


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์