กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลำปาง
พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การยกระดับการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน
และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขอให้ดำเนินการ ดังนี้
1.
ให้ยกระดับการปฏิบัติการเพื่อควบคุมการเผาในพื้นที่จังหวัดอย่างเข้มข้น
จริงจังโดยใช้มาตรการทางกฎหมายห้ามเผาอย่างเด็ดขาด
โดยกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติในการควบคุมการเผาให้สอดคล้องกับสภาพความรุนแรงของปัญหา
รวมทั้งส่งเสริมการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์แทนการเผาอย่างเป็นรูปธรรม
อาทิ การไถกลบตอซังขณะที่มีความชื้น การทำปุ๋ยหมัก การทำอาหารสัตว์
2.
ให้ใช้ข้อมูลตำแหน่งจุดความร้อน (Hotspot)
เพื่อวางแผนการปฏิบัติการที่ถูกต้องและแม่นยำ
หากพบจุดความร้อนในพื้นที่รับผิดชอบให้เร่งเข้าปฏิบัติการดับไฟป่าทันที
เพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามขยายวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนในพื้นที่โดยรอบ
กรณีเป็นพื้นที่ที่การปฏิบัติการภาคพื้นดินเข้าถึงได้ยากให้บูรณาการหน่วยงานที่มีอากาศยาน
เข้าสนับสนุนการปฏิบัติทางอากาศในพื้นที่
3.
ระดมสรรพกำลัง เครื่องจักรกลสาธารณภัยจากทุกหน่วยงาน ทั้งฝ่ายพลเรือน
หน่วยทหารและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เข้าปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้เข้มข้น อาทิ การดับไฟป่า
การช่วยเหลือเกษตรกรขนย้ายเศษวัสดุทางการเกษตรไปใช้ประโยชน์ เพื่อลดการเผา
พร้อมทั้งลดแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองอื่นๆเช่น ยานพาหนะที่ก่อให้เกิดควันดำ เป็นต้น
4.
ยกระดับมาตรการดูแลผลกระทบต่อประชาชน
โดยจัดหาหน้ากากอนามัยให้กับพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง
รวมทั้งแนะนำข้อปฏิบัติในการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองและจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัย (Safety
Zone) หรือห้องปลอดฝุ่นไว้บริการประชาชน เป็นต้น
5.
ดูแลผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา หรือศูนย์เด็กเล็ก
โดยให้ผู้บริหารสถานศึกษาปรับรูปแบบการเรียนการสอน
หรือปิดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสถานการณ์
เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชนให้มีน้อยที่สุด
6. สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน
เครือข่ายอาสาสมัคร
และประชาชนจิตอาสาทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาของจังหวัดอย่างต่อเนื่องผ่านทุกช่องทางที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย
โดยเฉพาะความจำเป็นในการควบคุมการเผา และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
เพื่อไม่ให้เกิดประเด็นความขัดแย้งนำสู่การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการของหน่วยงานภาครัฐให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
7.
กรณีสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน หรือระดับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM.2.5)ในพื้นที่มีความรุนแรงต่อเนื่อง ให้เข้าควบคุม
สั่งการการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในพื้นที่โดยเร่งด่วนอย่างใกล้ชิด
จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
ฤดูนี้การจัดการควบคุมไฟป่าและการเผาต้องมา
ตอบลบยอดเยี่ยมครับ จังหวัดอื่นต้องทำตาม
ตอบลบ