วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กรณีศึกษา ทำข่าวเกินข่าว ฏีกายืนช่อง 8 จ่าย”แพนเค้ก”

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

างเส้นก็ขีดไม่ชัด หรือชัดแต่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ทำนองน้ำพึงเรือเสือพึ่งป่า นักข่าวก็ได้ข่าวจากแหล่งข่าว แหล่งข่าวก็ได้ชื่อได้เสียง มีพื้นที่ในสื่อซึ่งจะเป็นสายป่านให้ทำมาหากินต่อไปได้ยาวๆ แต่ความจริงต้องพูดกันในเชิงหลักการว่า ความสัมพันธ์ในรูปแบบที่คล้ายผลประโยชน์ต่างตอบแทนเช่นนี้ ถูกต้อง ชอบธรรมหรือไม่

มีหลักการข้อหนึ่งที่ “จอกอ”มักใช้ในการบรรยายอยู่เสมอ คือการไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าวขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือแสดงตัวเป็นนักข่าวเพื่อใช้อภิสิทธิ์ หรือหลีกเลี่ยงความผิด ทำนองเดียวกับการที่นักข่าวไปสัมภาษณ์เพื่อทำข่าว แต่มีการใช้ข่าวนั้นไปต่อยอดหาผลประโยชน์ทางธุรกิจไม่สิ้นสุด นั่นก็เป็นเรื่องที่ต้องทบทวนกัน
ความผิดนั้น ไม่ได้อยู่ที่นักข่าว แต่อยู่ที่ผู้บริหาร หรือเจ้าของสื่อที่ต้องเข้าใจหลักการเชิงจริยธรรมเรื่องนี้ด้วย นี่เองที่ “จอกอ” ย้ำอยู่เสมอว่า จะต้องมีหลักจรรยาบรรณของผู้บริหารสื่อ ถ้าผู้บริหารสื่อมีความเข้าใจและมีความรับผิดชอบในเชิงจริยธรรมแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายใดมาบังคับเรื่องจริยธรรมสื่อ

การไม่แสดงตัวว่าเป็นนักข่าว ขณะทำข่าวอาจมีข้อยกเว้นกรณีที่จะต้องมีการรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ในการทำข่าวเชิงสืบสวน สอบสวน เนื่องเพราะการเปิดเผยตัวต่อแหล่งข่าวอาจทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือ หรืออาจเกิดอันตรายได้ แต่หลักจริยธรรม ไม่ว่านักข่าวจะทำข่าวลักษณะใด ต้องแนะนำตัวเอง และแจ้งวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ให้แหล่งข่าวทราบ ไม่ควรทำให้เขาประหลาดใจว่า เหตุใดถ้อยคำของเขาจึงไปปรากฏเป็นข่าวได้

เพราะหลายกรณีแหล่งข่าว ก็ต้องการเพียงให้ข้อมูล หรือเขามีข้อมูลแต่ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะให้ข่าวได้ เพราะอาจกระทบถึงสถานะหน้าที่การงาน  นี่ก็เป็นความละเอียดอ่อนที่นักข่าวต้องคำนึง สำคัญที่สุดคือการหลอกให้แหล่งข่าวสำคัญผิด คือความไม่สุจริตในการเป็นนักข่าว

เฉพาะกรณีช่อง 8 กับคุณเขมนิจ จามิกรณ์ หรือแพนเค้ก ที่ฟ้องบริษัทอาร์เอส ฐานละเมิด เรียกค่าเสียหาย เกิดจากการที่นักข่าวไปสัมภาษณ์แหล่งข่าว และขอให้แหล่งข่าวพูดในลักษณะของการโฆษณาช่องตัวเอง จากนั้นบริษัทก็นำไปขยายความใช้ในสื่อโฆษณา

คำฟ้องตอนหนึ่ง ระบุว่า เมื่อต้นปี 2558 มีการจัดงานกิจกรรมสันทนาการ บันเทิง หรืองานอีเวนต์ในสถานที่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร  โจทก์ได้รับเชิญจากเจ้าของงานอีเวนต์ไปปรากฏตัวในงานเช่นเดียวกับดารานักแสดงคนอื่นๆ

งานดังกล่าว มีช่างภาพ ผู้สื่อข่าว สื่อมวลชนแขนต่างๆสายบันเทิงไปร่วมรายงานข่าวและบันทึกภาพจำนวนมาก โดยปกติในทางปฎิบัติจะมีผู้สื่อข่าวมาสัมภาษณ์และนำภาพข่าวนั้นไปเสนอในสถานีคลื่นความถี่ของแต่ละคน ไม่เกินครั้งสองครั้ง

แต่จำเลยได้ให้ผู้สื่อข่าวมาสัมภาษณ์โจทก์ และให้พูดว่า “ใครๆก็ดูช่อง 8” เพื่อนำไปออกข่าวบันเทิง โจทก์ก็ให้สัมภาษณ์ โดยมีภาพโจทก์พูดข้อความดังกล่าว

แพนเค้ก บอกในคำฟ้องด้วยว่า จากนั้นเดือน ก.พ.-มี.ค.2558 ได้มีการนำภาพและข้อความว่า “ใครๆก็ดูช่อง 8 ไปออกอากาศและผ่านทางช่องทางยูทูบหลายต่อหลายครั้ง ทั้งที่เธอเป็นดารานักแสดงในสังกัดช่อง 7 สี ทำให้เธอได้รับความเสียหาย จึงฟ้องเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนจำนวน 5 ล้านบาท

ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้จำเลยชดใช้ จำเลยฎีกาให้ยกฟ้อง ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1 ล้านบาทฐานละเมิด โดยเห็นว่าการนำภาพและเสียงพูดของโจทก์ไปโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

“...ขณะสัมภาษณ์จำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่า จะนำภาพและเสียงพูดของโจทก์ไปโฆษณาประชาสัมพันธ์ จากเหตุดังกล่าว ที่โจทก์เบิกความว่า โจทก์ไม่ได้ยินยอมให้นำภาพและเสียงพูดของโจทก์ไปโฆษณาประชาสัมพันธ์จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้ โดยน่าเชื่อตามที่โจทก์เบิกความว่า โจทก์ยินยอมเพียงให้นำภาพและเสียงพูดของโจทก์ไปออกรายการข่าวบันเทิงรายวันเท่านั้น”

นี่เป็นกรณีศึกษาเรื่องการทำข่าวที่ควรต้องยึดหลัก “สุจริต” ในขณะเดียวกันก็เป็นปัญหาเชิงความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของฝ่ายกองบรรณาธิการ และฝ่ายโฆษณาที่ต้องแยกแยะให้ชัด มิฉะนั้นคนข่าวก็จะไม่สามารถรักษาหลักการความเป็นสื่อมวลชนที่ดีได้


(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1206 วันที่ 23 - 29 พฤศจิกายน 2561)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์