วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

จ.ลำปาง รณรงค์ลดการบริโภคอาหารหวาน-เค็ม ลดการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

สาธารณสุขลำปางห่วงใยประชาชน  ออกรณรงค์ลดการบริโภคอาหารหวาน เค็ม เพื่อลดการเสียชีวิตจากการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แนะนำประชาชนเลือกบริโภคอาหารที่มีสัญลักษณ์ทางสุขภาพ

ช่วงเย็นวันที่ (26 พฤศจิกายน 2562) ที่ตลาดสนามบิน ต.พระบาท อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง  นายแพทย์ประเสริฐ กิจสุวรรณรัตน์ นายแพทย์สาธารณะสุขจังหวัดลำปาง พร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกันออกรณรงค์ คนลำปางรวมพลังลดเค็ม ลดหวาน บริโภคอาหารที่มีสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ


โดยในกิจกรรมครั้งนี้ ได้มีการร่วมสาธิตการใช้เครื่องมือตรวจวัดความเค็มในอาหาร หรือ salt meter เพื่อทดสอบให้ผู้ที่เดินทางมาจ่ายตลาดสนามบิน ได้เห็นถึงระดับค่าของความเค็ม ที่มีอยู่ในอาหารแต่ละชนิด ว่าเกินเกณฑ์ที่ควรบริโภคหรือไม่ พร้อมเชิญชวนประชาชนหันมาบริโภคอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ให้น้อยลง

โดยนายแพทย์สาธารณะสุขจังหวัดลำปาง ได้กล่าวว่า ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประชาชน โดยจังหวัดลำปาง ในปี 2562 พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 104,470 ราย โรคเบาหวานจำนวน 44,391 ราย และมีสถิติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ดังนั้นจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งประชาชนสามารถกำหนดได้ ที่จะเลือกรับประทานอาหารในแต่ละวันที่มีสัดส่วนของโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งองค์การอนามัยโลก แนะนำให้บริโภคเกลือ 5 กรัม หรือโซเดียม 2000 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชาต่อวันเท่านั้น


และการรณรงค์ลดการทานหวาน ทางหน่วยงานได้เชิญชวนร้านเครื่องดื่ม เข้าร่วมโครงการหวานน้อย โดยให้ทางร้านได้มีการจัดทำเมนูหวานน้อย คอยให้บริการแก่ประชาชน รวมถึงการให้คำแนะนำ การเลือกบริโภคอาหารที่มีสัญลักษณ์ทางสุขภาพ หรือ healthier choice โดยอ่านฉลากทางเลือกสุขภาพหรือ Healthy logo บนบรรจุภัณฑ์ทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบปริมาณโซเดียม หรือน้ำตาล และอื่นๆ ว่ามีปริมาณเท่าไหร่ ต่อการบริโภคไปในหนึ่งครั้ง เพื่อให้ประชาชนจังหวัดลำปาง ได้รับความปลอดภัยด้านอาหาร และลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างยั่งยืน

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์