วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563

ปูนลำปางฯ มุ่งมั่นคืนสิ่งแวดล้อมหลังทำเหมือง ศึกษาจากพรรณไม้ในป่าจริง เพื่อคืนป่าสวยให้สัตว์น้อยใหญ่ ควบคู่กับพัฒนาอาชีพสู่ชุมชน เผยโครงการปี 63 ช่วยลด PM 2.5

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

เมื่อวันที่  16 มกราคม 2563 บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี จัดกิจกรรม เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูการทำเหมืองปูนลำปาง และ“พบกันฉันท์น้องพี่ SCG ลำปาง & สื่อมวลชนจังหวัดลำปาง” 


เพื่อเน้นย้ำนโยบายยึดมั่นการดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน และสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูที่และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบในจังหวัดลำปาง สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ SCG  Circular way ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนต่อยอดสู่การพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับชุมชน


ในการนี้ นายวิสุทธ จงเจริญกิจ Managing Director บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด กล่าวว่า SCG ใช้วิธีการทำเหมืองรูปแบบใหม่ เรียกว่า “Semi-Open Cut” ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบเหมืองที่ SCG พัฒนาขึ้น โดยนำไปใช้กับโรงงานปูนของ SCG ทุกแห่งทุกประเทศ โดย Semi-Open Cut เป็นเทคนิคการทำเหมืองจากภายใน ละเว้นพื้นที่สีเขียว หรือ Buffer Zone ไม่น้อยกว่า 40% จากพื้นที่รับสัมปทานทั้งหมด จึงสามารถป้องกันและลดผลกระทบต่อชุมชน ทั้งด้านฝุ่น เสียง และแรงสั่นสะเทือนได้ อีกทั้งยังดำเนินการยังต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมือง ให้ยังคงทัศนียภาพตามเดิมควบคู่กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ตามแนวคิด “โรงงานอยู่ที่ไหน ป่าต้องเขียวที่นั่น”


เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ SCG และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้มีการนำมาปรับใช้ในกระบวนการจัดการและดูและสิ่งแวดล้อมตามข้อกฏหมายกำหนด รวมถึงมาตรฐานสากล


ในส่วนของการฟื้นฟู SCG ได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยการฟื้นฟูป่า คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และสรุปชนิดพันธุ์ไม้ในท้องถิ่น ที่ใช้ในงานฟื้นฟูเหมืองลำปาง เช่น กระถิน ประดู่ ยมหิน อ้อยช้าง เป็นต้น โดยจะมีการปลูกพืชทับบริเวณที่เหมืองส่วนนั้นหมดอายุการใช้งานแล้วทันที เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวแก่ธรรมชาติ รวมทั้งได้ริเริ่มโครงการกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ และ Glabal Nature Fund จัดทำโครงการตรวจประเมินธุรกิจ รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร โดยเน้นการสำรวจชนิดพันธุ์นก ซึ่งพบว่าในพื้นที่เหมืองลำปางมีชนิดนกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงสภาพธรรมชาติที่กลับคืนมามีระบบนิเวศเหมาะสมแก่การดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น


ทั้งนี้ในปี 2563 SCG ยังมีแผนดำเนินงานอีกหลายโครงการ เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อม เช่น ป้องกันและควบคุมไฟ, ระบบเมืองนิเวศยั่งยืน 6 หมู่บ้าน ใน ต.เมืองมาย อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง, การขยายการจัดการขยะจากระดับตำบลสู่ระดับอำเภอ (แจ้ห่ม), การปลูกต้นไม้ 30 ไร่ ฟื้นฟูระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังได้ทำโครงการ Zero Burn โดยร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่าย รวบรวมนำพืชชีวมวลจากภาคการเกษตร เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด กิ่งไม้ใบไม้ เป็นต้น มาเป็นเชื้อเพลิงในกระบวรการเผาปูนซีเมนต์ช่วยป้องการและลดปัญหาหมอกควัน (PM 2.5) ในพื้นที่

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์